• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
เก็บตกเกร็ดน่ารู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครบ 6 ทศวรรษ
Insights
74
วันเผยแพร่: Jan 27,2025
อัปเดตล่าสุด: May 08,2025
เก็บตกเกร็ดน่ารู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครบ 6 ทศวรรษ
ผ่านพ้นไปอย่างงดงามและยิ่งใหญ่สมเกียรติสำหรับพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมย่างก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 7

 

สำนักข่าวอ่างแก้วขอเก็บตก 20 เกร็ดน่ารู้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกในภูมิภาคของประเทศไทย กับเรื่องราวที่เป็นตำนานถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวมานานนับ 6 ทศวรรษเพื่อให้ทุกคนรู้จักกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มากขึ้นกว่าเดิม

 

1. นายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ คหบดีคนสำคัญของเมืองเชียงใหม่ในอดีตที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งดินแดนล้านนาเมื่อปี 2493 และอีก 10 ปีต่อมา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น

 

2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภูมิภาคที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2508 จึงให้นับว่าเป็นสถาปนาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีพื้นที่ทั้งหมด 579 ไร่ 68 ตารางวา มีที่มาจาก 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นที่ดินของนายกี - นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ซึ่งนอกจากจะขายที่ดินในราคาเท่าทุนเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว ต่อมายังได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนที่ 2 มีเนื้อที่ประมาณ 172 ไร่ เป็นของคุณบุญอยู่ โปษะวัฒน์ เจ้าของตลาดบุญอยู่ ซึ่งแต่เดิมใช้ทำสวนต้นนุ่น ปัจจุบันคือที่ดินตั้งแต่ตึกธรณีวิทยา คณะสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และหอพักอ่างแก้ว ส่วนที่ 3 เป็นของประชาชนทั่วไป ซึ่งมีหลายเจ้าของ เนื้อที่ประมาณ 243 ไร่ และส่วนที่ 4 เป็นที่ดินและลำห้วยต่างๆ ในเขตป่าสงวนที่ไม่ต้องซื้อ รวมแล้วเป็นจำนวน 579 ไร่ กับ 68 ตารางวา

 

4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2507 ซึ่งตอนนั้นมีเพียง 3 คณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาคือคณะแพทยศาสตร์เป็นลำดับที่ 4 โดยโอนจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเดิมที คณะแพทยศาสตร์ เป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาแพทย์ขาดแคลน

 

5. ลูกช้างเชือกแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีทั้งหมด 291 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชาย 146 คน และนักศึกษาหญิง 145 คน โดยมีอาจารย์เพียงแค่ 18 คนเท่านั้น

 

6. จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาแล้วทั้งหมด 16 คน ปัจจุบันคือ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล

 

7.ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นรูปช้างชูคบเพลิง มีภาษาบาลีว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบน และคำว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2507” อยู่ด้านล่างตรงกลาง ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี “ดอกสัก” คั่นกลางปรากฏอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีความหมาย คือ

  • ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ การก้าวย่างของช้าง คือความเจริญก้าวหน้า คบเพลิง คือ ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ

  • รัศมี 8 แฉก คือ คณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • ดอกสัก ที่ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ถือเป็นต้นไม้ที่มีค่าสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ

  • พุทธสุภาษิต “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

 

8. ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 22 คณะวิชา 3 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย และมีการสอนทั้งหมด 340 หลักสูตร

 

9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551 ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551

 

10. หอนาฬิกา เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญ ตั้งอยู่วงเวียนกลางมหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2519 ในยุคที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ร้อยโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ มช. และปัจจุบันหอนาฬิกา มช. มีอายุ 49 ปี โดยรูปทรงของหอนาฬิกาเป็นอาคารทรงสูงที่มีรูปแบบเรียบง่าย มีหน้าปัดนาฬิกา 4 ทิศอยู่ด้านบนสุด ทำให้มองเห็นได้จากหลายทิศทาง และเป็นหอนาฬิกาที่ใช้ระบบไฟฟ้า มีถ่านเป็นตัวเก็บไฟสำรอง และมีตู้คอนโทรลทำหน้าที่ควบคุมระบบทั้งหมอใกล้กับหอพักหญิงอาคาร 6

 

11. อ่างแก้ว อีกหนึ่งแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี 2505 เพื่อทำเป็นอ่างกักเก็บน้ำภายในมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นจุดบรรจบของลำห้วย 2 สายจากดอยสุเทพ คือ ห้วยแก้วและห้วยกู่ขาว โดยชื่อเดิมคือ “อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว” แต่ต่อมา ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อ่างแก้ว” ในปีเดียวกัน

 

12. ศาลาธรรม สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2507 เดิมใช้เป็นสถานที่จัดพิธีไหว้ครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ภายหลังใช้เป็นสถานที่เปลี่ยนฉลองพระองค์และประทับพักพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะมาเฝ้ารอรับเสด็จ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อหอประชุมมหาวิทยาลัยสร้างเสร็จจึงได้ย้ายสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครูไปยังหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยจึงได้ใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดงานสำคัญของมหาวิทยาลัยในบางโอกาส

 

13. ศาลพระภูมิ หรือ ‘ศาลช้าง’ จัดตั้งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2507 ณ บริเวณด้านหน้าของศาลาธรรมโดยศาลพระภูมิจะหันหน้าออกไปทางด้านหน้าของมหาวิทยาลัย เป็นที่เคารพสักการะและยึดเหนี่ยวจิตใจของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประชาชนทั่วไป ซึ่งภายหลังมีการบูรณะศาลพระภูมิและพื้นที่โดยรอบใหม่ให้สวยงาม และประกอบพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

 

14. ศาลาอ่างแก้ว เดิมทีเคยใช้เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ปัจจุบันศาลาอ่างแก้วใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การเตรียมตัวก่อนขึ้นดอยของนักศึกษาในกิจกรรมรับน้องขึ้นดอย การรับน้อง และการออกกำลังกายเป็นต้น

 

15. หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

 

16. หอพักนักศึกษาในยุคนั้นจะเรียกว่า วิทยาลัย แบ่งเป็น หอพักนักศึกษาชายคือ วิทยาลัยที่ 1 และหอพักนักศึกษาหญิงคือ วิทยาลัยที่ 2 เมื่อจำนวนนักศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คณาจารย์ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ระบบวิทยาลัยจึงถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2521 กลายเป็นหอพักนักศึกษาชาย และหอพักนักศึกษาหญิงทั่วไปจนถึงปัจจุบัน

 

17. อ่างเก็บน้ำตาดสีชมพู เป็นอ่างเก็บน้ำสำรองเพิ่มเติมจากอ่างแก้ว สร้างขึ้นมาภายหลังเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งของมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ด้านหน้าคณะนิติศาสตร์โดยจะรับน้ำจากห้วยตาดชมพูที่ไหลผ่านลงมาจากดอยสุเทพ มีความจุอ่างประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร มีระบบท่อสูบไปยังโรงผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งสามารถรับน้ำจากแหล่งน้ำอื่น ๆ อาทิ ห้วยผาลาด และอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ในอนาคต ขณะเดียวกัน ยังเป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่กว่า 300 ต้นในบริเวณดังกล่าวตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน เขียว และสะอาด (Green and Clean Sustainability University) เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับทำเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

 

ที่มา

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

https://www.matichonweekly.com/column/article_301302

https://www.tiktok.com/@cmutiktok/video/7458167355152190738


บทความที่เกี่ยวข้อง
บัณฑิตสร้างงานหรือสังคมสร้างกรอบ ?
  • Insights
บัณฑิตสร้างงานหรือสังคมสร้างกรอบ ?

เมื่อตลาดแรงงานไม่ให้โอกาสเด็กจบใหม่ เพียงเพราะต้องการคนที่มีประสบการณ์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กจบใหม่ไม่มีประสบการณ์ ?

อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ โปรดิวเซอร์มือทองกับการปรับนตัวท่ามกลางกระแสออนไลน์
  • Insights
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ โปรดิวเซอร์มือทองกับการปรับนตัวท่ามกลางกระแสออนไลน์

ในวงการโทรทัศน์ ชื่อของ หลา-อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ คือผู้อยู่เบื้องหลังที่ผลิตรายการเตือนภัยสังคมแบบเจาะลึกอย่าง “เรื่องจริงผ่านจอ” ซึ่งออกอากาศมายาวนานถึง 24 ปี ปัจจุบันเขายังเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท สาระดี จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท กันตนา จำกัด (มหาชน) จากการทำงานมาอย่างยาวนานในฐานะโปรดิวเซอร์ที่ต้องครีเอทและผลิตคอนเทนต์เพื่อดึงดูดผู้ชม ซึ่งปัจจุบัน สื่อออนไลน์มาแรงแซงหน้าทุกแพลตฟอร์ม จนทำให้สื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ อกนิษฐ์ เมื่อครั้งที่เขามารับโล่รางวัลในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น ด้านความสำเร็จในอาชีพ/หน้าที่การงาน ประจำปี 2567 คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้มาแชร์ถึงวิธีปรับตัวในฐานะโปรดิวเซอร์ และการรับมือกับโลกของสื่อที่เปลี่ยนไปในทุกขณะ

6 รอยเลื่อนสำคัญของโลก ที่มีศักยภาพรุนแรงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
  • Insights
6 รอยเลื่อนสำคัญของโลก ที่มีศักยภาพรุนแรงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

นอกจากรอยเลื่อนสะกายในเมียนมา ซึ่งนับเป็นรอยเลื่อนที่มีความเสี่ยงสูงและศักยภาพรุนแรงหากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ยังมีอีก 6 รอยเลื่อนแห่งประวัติศาสตร์ ที่ถูกบันทึกว่าเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ของโลก

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK