• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
‘โหล่ง ฮิม คาว’ ชุมชนเล็ก แต่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
Art & Design | Leisure
37
วันเผยแพร่: Mar 13,2025
อัปเดตล่าสุด: May 15,2025
‘โหล่ง ฮิม คาว’ ชุมชนเล็ก แต่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

โหล่งฮิมคาว มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านมอญ ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

คำว่า “โหล่ง” แปลว่า ย่าน ชุมชน หรือที่พื้นที่ว่างกว้าง ส่วนคำว่า “ฮิมคาว” คือ ริมคาว ซึ่ง “คาว” มาจากแม่น้ำคาว ทำให้ความหมายของโหล่งฮิมคาวคือชุมชนริมแม่น้ำคาว

จุดเริ่มต้นของโหล่งฮิมคาว

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานชุมชนโหล่งฮิมคาวและเป็นผู้ก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เล่าว่า “จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 สมัยรัฐบาลชาติชายตอนนั้นพื้นที่แถวนี้เป็นเพียงพื้นที่ป่าและนาเปล่า ๆ สำหรับเลี้ยงควายทั่วพื้นที่เป็นดินลูกรัง และถูกทิ้งให้รกร้าง ทำให้เกิดแนวคิดที่อยากจะสร้างพื้นที่สีเขียวจึงชักชวนเพื่อนคนที่รู้จักและรักในธรรมชาติ ศิลปะและวัฒนธรรม มาร่วมกันสร้างหมู่บ้าน และกลายเป็นชุมชนยอดฮิตของผู้ที่สนใจในงานฝีมือ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมล้านนา”

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานชุมชนโหล่งฮิมคาว

 

‘เดินช้าๆ.. กินช้าๆ…

ซื้อขายช้าๆ… อู้จ๋ากันม่วนๆ…’

เป็นสโลแกนที่ชัชวาลย์บอกกับเราว่า เป็นการนำเอาคอนเซปต์ ‘สโลว์ไลฟ์กับกาดต่อนยอน’ มาตีความ ซึ่งได้มาจากลักษณะพิเศษของการใช้ชีวิตในชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยด้วย โดยอยากจะให้ภายในชุมชนอยู่กันอย่างมีความสงบสุข และอยู่กันแบบพี่น้อง มีอะไรก็เดินมาปรึกษาหารือกัน

 

โหล่งฮิมคาวกับพื้นที่สีเขียวในจังหวัดเชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม โหลงฮิมคาวมีแนวคิดในการสร้างชุมชนนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อคนเพียง 1.57 ตารางเมตร ซึ่งน้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่า ขนาดของพื้นที่สีเขียวเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากรควรมีขนาดอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน

“ที่นี่เราอยากจะสร้างพื้นที่สีเขียวจริง ๆ แล้วพื้นที่สีเขียวคือคุณภาพชีวิตมันเกี่ยวข้องกันกับคนเรา ถ้าอยู่รวมกันอย่างกลมกลืนมันคือความสุขนะแค่เห็นสีเขียวเราก็มีความสุขละแล้วยิ่งอยู่ใต้ร่มเงาจริง ๆ อันเนี่ยะมันเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีมาก ๆ ” ประธานชุมชนฯ กล่าวเพิ่มเติม

 

แนวคิดชุมชนกับ Zerowaste

สิ่งที่เป็นเสน่ห์อีกอย่างของโหล่งฮิมคาว นั่นคือการที่ภายในชุมชนนำเอาขยะมารีไซเคิลเป็นงานศิลปะต่าง ๆ มากมาย อาทิ ร้านขายเสื้อที่ใช้เศษผ้ามาดีไซน์ใหม่โดยใช้เทคนิค “ปะปักตัดต่อ” ทำเสื้อผ้า สร้อย โดยไม่ให้เหลือเศษผ้าแม้แต่ชิ้นเดียวและมีการร่วมมือกับแคมป์เปญ Greenroad โดยมีการส่งขยะเข้าไปในโรงงานที่อยู่โซนด้านหลังเพื่อแปรรูป จากนั้นนำไปอัดเป็นอิฐบล็อกจากขยะ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะนำบล็อกจากขยะมาทำเป็นสนามเด็กเล่นอีกด้วย

โหล่งฮิมคาว เปิดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00-14.00 น. ลองแวะไปเดินเล่นในชุมชนน่ารักที่ผู้คนเป็นมิตร และเดินสบายใต้เงาต้นไม้ใหญ่กันนะ 

 

แหล่งอ้างอิง

  • Thai Greenhouse Gas Inventory. (n.d.). รายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด. TGU ONEP. https://tgu.onep.go.th/#/dashboard/report-province
  • อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้, & กรกมล ศรีวัฒน์. (2021, พฤษภาคม 3). 10 data insight เชียงใหม่ เมืองขับได้ขี่ดี vs เมืองเดินได้เดินดี. The Urbanis. https://theurbanis.com/insight/03/05/2021/4581
  • The Active. (2020, พฤศจิกายน 4). สมุดปกเขียว : ปัดฝุ่นเชียงใหม่ สู่เมืองรองแห่งอนาคต. The Active. https://theactive.thaipbs.or.th/read/an-approach-for-green-chiangmai-strategy

 

บทความนี้เป็นผลงานของนักศึกษากลุ่มวิชาวารสารศาสตร์บูรณาการ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความที่เกี่ยวข้อง
Lazy Economy : เมื่อ ‘ความขี้เกียจ’ ของคนทั้งโลกถูกซื้อไปหมดแล้ว
  • Business
Lazy Economy : เมื่อ ‘ความขี้เกียจ’ ของคนทั้งโลกถูกซื้อไปหมดแล้ว

เมื่อความขี้เกียจกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ เพราะความขี้เกียจของคนเรานี่เอง ที่ทำให้เกิดธุรกิจหลากหลายประเภทขึ้นมารองรับความไม่อยากต้องออกแรงให้เหนื่อยของมนุษย์ โดยธุรกิจเหล่านี้อาศัยสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันเพื่อทำให้ธุรกิจไปรอดและมั่งคั่ง นั่นคือ ‘ความขี้เกียจ’ โดยธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า ‘Lazy Economy’

Green Market : พื้นที่ธุรกิจของคนรัก(ษ์)โลก
  • News
Green Market : พื้นที่ธุรกิจของคนรัก(ษ์)โลก

‘Green Market’ ถ้าแปลตรงตัวก็คือ ‘ตลาดสีเขียว’ เป็นตลาดแหล่งขายสินค้าที่มีการจัดการแบบช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างขยะให้กับโลก และเลือกใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ที่สามารถปรับให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยโลกได้

อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ โปรดิวเซอร์มือทองกับการปรับนตัวท่ามกลางกระแสออนไลน์
  • Insights
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ โปรดิวเซอร์มือทองกับการปรับนตัวท่ามกลางกระแสออนไลน์

ในวงการโทรทัศน์ ชื่อของ หลา-อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์ คือผู้อยู่เบื้องหลังที่ผลิตรายการเตือนภัยสังคมแบบเจาะลึกอย่าง “เรื่องจริงผ่านจอ” ซึ่งออกอากาศมายาวนานถึง 24 ปี ปัจจุบันเขายังเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท สาระดี จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท กันตนา จำกัด (มหาชน) จากการทำงานมาอย่างยาวนานในฐานะโปรดิวเซอร์ที่ต้องครีเอทและผลิตคอนเทนต์เพื่อดึงดูดผู้ชม ซึ่งปัจจุบัน สื่อออนไลน์มาแรงแซงหน้าทุกแพลตฟอร์ม จนทำให้สื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ อกนิษฐ์ เมื่อครั้งที่เขามารับโล่รางวัลในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น ด้านความสำเร็จในอาชีพ/หน้าที่การงาน ประจำปี 2567 คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้มาแชร์ถึงวิธีปรับตัวในฐานะโปรดิวเซอร์ และการรับมือกับโลกของสื่อที่เปลี่ยนไปในทุกขณะ

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK