• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
คณะสัตวแพทย์ มช. เตรียมปั้น "โรงพยาบาลช้าง ศูนย์สุขภาพช้างฯ" เพื่อสวัสดิภาพช้างไทย
News
60
วันเผยแพร่: Mar 19,2025
อัปเดตล่าสุด: Jun 18,2025
คณะสัตวแพทย์ มช. เตรียมปั้น "โรงพยาบาลช้าง ศูนย์สุขภาพช้างฯ" เพื่อสวัสดิภาพช้างไทย

ปัจจุบันจำนวนช้างเลี้ยงในภาคเหนือนั้นมีจำนวนมาก โดยคิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรช้างเลี้ยงทั้งหมดของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศถึง 418 เชือก การดูแลสุขภาพและพยาบาลช้างยามเจ็บป่วย จึงเป็นอีกปัญหาสำคัญที่ยังเปิดไม่ครอบคลุมและอยู่ห่างไกลจากพื้นที่อันเป็นแหล่งเลี้ยงช้าง ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโรงพยาบาลรักษาช้างเป็นหลักอยู่แห่งเดียวคือโรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

อย่างไรก็ตาม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสวัสดิภาพช้าง รวมทั้งมีแนวคิดที่จะสร้าง “โรงพยาบาลช้าง ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า" บนพื้นที่จำนวน 26 ไร่ของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับช้างป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล่าสุด น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ได้มอบทุนทรัพย์จำนวน 49.25 ล้านบาทเพื่อใช้ในการสร้างโรงพยาบาลช้างแห่งใหม่นี้อย่างเป็นรูปเป็นร่าง เพื่อเป็นการอุทิศให้กับ กันยา ลูกช้างป่ากำพร้า ที่ได้รับการช่วยเหลือจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ และนำมาเลี้ยงกับช้างแม่รับ ที่ปางช้างภัทร อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ก่อนถูกส่งไปรักษาอาการป่วย EEHV หรือโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง ที่โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง โดย น.ส.กัญจนา เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ แต่สุดท้ายกันยาได้ล้มลงเมื่อกลางดึกของวันที่ 5 พ.ย. 2567

ทั้งนี้ ศ.ปฏิบัติ ดร.น.สพ.ฉัตรโชติ ทิตาราม รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และวิเทศสัมพันธ์ และผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. กล่าวถึงสถานการณ์ช้างไทยว่า “ในปัจจุบันประเทศไทยเรามีปางช้างจำนวนมากที่ทำธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว ส่งผลให้มีข้อถกเถียงกันในสังคม จากปัญหาการดูแลช้างบ้านโดยปางช้างต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสําหรับปางช้าง จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ มกอช. หรือการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง ซึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือเรื่องของสวัสดิภาพ สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของช้าง”

เป็นที่คาดการณ์กันว่าเมื่อ "โรงพยาบาลช้าง ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า" สร้างเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว จะช่วยรองรับช้างป่วยไปจนถึงช้างที่มีอาการหนักหรืออยู่ในขั้นวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการให้บริการการดูแลสุขภาพช้าง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับช้างบ้านจำนวนมาก จึงง่ายต่อการเดินทางมารักษา นอกเหนือจากนี้ ศ.ปฏิบัติ ดร.น.สพ.ฉัตรโชติฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึง โอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยว่า “โรงพยาบาลแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษา สัตวแพทย์ ทั้งไทย และต่างประเทศ ต่อยอดองค์ความรู้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับช้างและสัตว์ป่า สามารถศึกษาแนวทางการดูแลรักษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต”

ด้านผู้สนับสนุนทุน น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา กล่าวว่า “ช้างในพื้นที่ภาคเหนือมีจำนวนเยอะมาก หลายร้อยเชือก แต่มีโรงพยาบาลช้างรองรับเพียงแห่งเดียวคือ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จ.ลำปาง ดังนั้น เชียงใหม่จึงเป็นอีกพื้นที่ที่เหมาะกับการสร้างโรงพยาบาลช้างอย่างมาก สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ที่มีโครงการฯ นี้อยู่แล้ว จึงเป็นส่วนเติมเต็มกันและกันได้เป็นอย่างดี ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือสร้างสวัสดิภาพที่ดีขึ้นของช้าง และยังเป็นพื้นที่บ่มเพาะความรู้ให้กับสัตวแพทย์ หรือหมอช้างที่กำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้”

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลช้าง ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่าแห่งใหม่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย อาคารโรงพยาบาลช้าง อาคารสำนักงาน อาคารพักฟื้นช้างป่วย อาคารโรงเก็บอาหารและบ้านพักควาญช้าง ระบบไฟฟ้าและน้ำประปา ครุภัณฑ์ประกอบอาคาร ครุภัณฑ์สำนักงาน และ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และหากการก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผน จะสามารถรองรับช้างป่วยที่มีอาการหนักหรืออยู่ในขั้นวิกฤตไว้รักษาได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 6 เชือก พร้อมสามารถจัดการอบรมภาคปฏิบัติระยะสั้นสำหรับนักศึกษาคณะสัตวแพทย์และผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ช้าง สัตว์ป่า ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


บทความที่เกี่ยวข้อง
สยามเมือง(เ)ยิ้ม : เมื่อกัญชาไทยเสรีทั่วหล้า
  • News
สยามเมือง(เ)ยิ้ม : เมื่อกัญชาไทยเสรีทั่วหล้า

การออก ‘ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565’ ที่กำหนดให้ทุกส่วนของ ‘กัญชา’ ไม่ถือว่าเป็นยาเสพติด และสารสกัดกัญชาที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol : THC) จำนวนไม่เกิน 0.2% ก็ไม่ถือเป็นยาเสพติด ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดพ.ศ. 2564 แล้ว ยังถือเป็นการ ‘ปลดล็อค’ ที่ส่งผลให้การใช้กัญชาในประเทศไทยสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด

ปู่แสะย่าแสะ : ความเชื่อและพิธีกรรม จะคงอยู่หรือเสื่อมสลาย ?
  • News
ปู่แสะย่าแสะ : ความเชื่อและพิธีกรรม จะคงอยู่หรือเสื่อมสลาย ?

หากกล่าวถึงจังหวัดเชียงใหม่ หลาย ๆ คนคงนึกถึงเมืองแห่งวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาล หรือโบราณสถานที่ยังคงอยู่ บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของ ‘คนเมือง’ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ว่ามีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ถือเป็นหลักฐานที่แสดงออกมาได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่สุด

‘สุขภาพที่ดี’ คือจุดเริ่มต้นของ ‘ความสุข’
  • News
‘สุขภาพที่ดี’ คือจุดเริ่มต้นของ ‘ความสุข’

ข้อมูลจาก ‘รายงานความสุขโลก’ หรือ World Happiness Report ประจำปี 2565 ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Solutions Network : SDSN) ขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่าอันดับความสุขของคนไทยตกอันดับลงไปอยู่ที่อันดับ 61 จากเดิมที่อยู่ที่อันดับ 54 ในปี 2564

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK