• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
เชียงใหม่ เมืองแห่งวัฒนธรรมของดนตรี
Culture
120
วันเผยแพร่: Nov 21,2024
อัปเดตล่าสุด: May 22,2025
เชียงใหม่ เมืองแห่งวัฒนธรรมของดนตรี

การส่งเสริมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่มีการดำเนินต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน แต่เราจะเห็นได้ชัดว่าการสนับสนุนเหล่านั้น มักจะสนับสนุนโดยองค์กรรัฐที่มุ่งเน้นไปหาผู้ที่ดำเนินงานศิลปะท้องถิ่นล้านนาก่อน อาทิ ดนตรีล้านนา ผ้าฝ้ายล้านนา สถาปัตยกรรมล้านนา เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ศิลปะร่วมสมัยในระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่จะถูกผลักดันด้วยภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อมโยงของดนตรีและผู้คนได้สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนผ่านศิลปินท้องถิ่นในพื้นที่ ศิลปินต่างชาติ ค่ายเพลงอินดี้ และเทศกาลดนตรีต่าง ๆ  ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อน วงการดนตรีในเชียงใหม่ จนกลายเป็นเมืองแห่งดนตรีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

Chiangmai Original: เงาแห่งการสนับสนุนศิลปินในจังหวัดเชียงใหม่

 

เชียงใหม่ภายใต้เมืองแห่งอุตสาหกรรมดนตรีรูปแบบใหม่ ที่ไม่พึ่งค่ายใหญ่ ไม่พึ่งสื่อใหญ่ ไม่พึ่งเมืองใหญ่ ด้วยเหตุผลว่าเชียงใหม่ห่างไกลจากเมืองหลวง จึงเข้าถึงสิ่งที่กล่าวมาได้ยาก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจำเป็นต่อการเติบโตของศิลปินอย่างมาก Chiangmai Original จึงเป็นคอมมูนิตี้ที่คอยให้ความรู้และผลักดันศิลปินในเชียงใหม่  มีการส่งเสริมจัดหางานให้ศิลปิน การจัดงาน Music festival การโปรโมทเพลง รวมไปถึงการเปิดพื้นที่เพื่อการแสดงสด (Live house)

คุณสุพิชา เทศดรุณ ผู้ก่อตั้ง Chiangmai Original

 

"เราอยากทำให้ที่ที่เราอยู่ สามารถทำงานที่เรารักได้ โดยไม่ต้องเข้าเมืองและเราก็อยากให้น้องๆศิลปินรุ่นใหม่ทำงาน ที่พวกเขารักและเติบโตอย่างมีคุณภาพเช่นกัน นั่นแหละคือ Chiangmai Original" สุพิชา เทศดรุณ ผู้ก่อตั้ง Chiangmai Original กล่าว 

 

ปัจจุบัน Chiangmai Original มีศิลปินที่เข้าร่วมกว่า 100 วงเช่น คณะสุเทพการบันเทิง, ดารารัญ, H8U Helicoptor Secondhand, THE HALF MOONs, pOd, บอยอิมเมจิ้น  และยังมีงาน Event ที่จัดขึ้นเพื่อศิลปินในเชียงใหม่ที่เห็นได้ชัดกว่า 3 งาน ได้แก่ Ho! Festival, Chiangmai Hi Ho และ Chiangmai Busking ทั้งนี้กลุ่ม Chiangmai Original ก็ยังมีโปรเจคอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การเปิดพื้นที่ให้ศิลปิน ในเชียงใหม่และต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ได้ไปแสดงผลงานที่ Live house ขนาดย่อมอย่าง Chiangmai OriginaLive การจัดงาน Ho! inter ที่รวมศิลปินจากทั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมแสดงดนตรีสดร่วมกัน อันนำไปสู่การร่วมผลงานเพลงของหลากหลายชนชาติในอนาคตอีกด้วย

 

Chiangmai OriginaLive: Live House ที่เปิดรับทุกความหลากหลาย

 

Chiangmai OriginaLive มีชื่อเรียกแบบย่อว่า CNX OG LIVE ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่ศิลปิน ในจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง รวมไปถึงชาวต่างชาติที่หลงไหลในวัฒนธรรมดนตรี ของเชียงใหม่

 

ภาพจาก Instragram: CNX.OG.LIVE

 

CNX OG LIVE เป็น Live House ขนาดเล็กแห่งแรกในเชียงใหม่ที่เกิดจากการสนับสนุนของกลุ่ม Chiangmai Original เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงเอง มีพื้นที่ในการโปรโมทผลงานแสดงศักยภาพ มีพื้นที่เล่นดนตรีสดร่วมกัน รวมไปถึงการรวมตัวพูดคุย แลกเปลี่ยนผลงานตามเอกลักษณ์เฉพาะตัวศิลปิน ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างศิลปินกับแฟนคลับให้ได้มาพบปะกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ภายใน CNX OG LIVE ไม่ได้มีแค่ศิลปินสัญชาติไทยมาแสดงสดแต่เพียงผู้เดียว แต่ยังมีศิลปินต่างชาติที่มาเที่ยวพักผ่อน หรืออาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ได้มาจัดงานเล็กๆ ในบรรยากาศกันเองให้คนเชียงใหม่ได้มาเอ็นจอยไปกับพวกเขาด้วย

 

LABB FEST: โปรเจคพิเศษจากมุมมองเจ้าของค่ายเพลง เพื่อศิลปิน

 

LABB FEST คือ Music Festival ที่จะมีโปรดิวเซอร์ โปรโมเตอร์และบุคคลสำคัญในวงการดนตรีจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นแมวมองหาศิลปินที่จะมาทำการแสดงสดภายในงาน เพื่อพัฒนาผลงานต่อในระดับนานาชาติ โดย LABB FEST เป็นโปรเจคของคุณสุเมธ ยอดแก้ว ผู้บริหารค่ายเพลง Minimal Record ที่มีวิสัยทัศมองเห็นศักยภาพของศิลปินอินดี้เชียงใหม่และต่างประเทศ และอยากจะผลักดันให้โลกรับรู้ถึงการมีอยู่ของศิลปินเหล่านั้น

 

การแสดงสดภายในงานมีทั้งศิลปินมากหน้าหลายตา หลายชาติ โดยศิลปินที่มาร่วมแสดงใน LABB FEST เกือบทั้งหมดก็ได้มีโอกาสพัฒนาผลงานต่อร่วมกับโปรดิวเซอร์ และโปโมเตอร์ ที่เข้าร่วมภายในงาน เผยแพร่ผลงานคุณภาพให้คนทั่วโลกได้ฟัง เช่น วง Common People Like You, L8CHING, THE REASONABILISTS, LAWIN, HOWWHYWHENYOU ศิลปินดังกล่าว ล้วนเป็นศิลปินที่มีผลงานที่โดดเด่น ศิลปินไทยที่มีผลงานที่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศก็มี หรือศิลปินต่างประเทศบางกลุ่มอย่าง THE REASONABILISTS และ HOWWHYWHENYOU ที่ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงในเชียงใหม่อย่าง Minimal record ก็มี นับได้ว่า LABB FEST คือเทศกาลดนตรีที่ผลักดันให้เชียงใหม่เป็นที่รู้จัก ในเรื่องศูนย์รวมคนดนตรีและการผลักดันท้องถิ่นไปสู่ระดับสากลอย่างแท้จริง

 

วง THE REASONABILISTS ภาพจาก Facebook Fanpage: Minimal Record

วง HOWWHYWHENYOU ภาพจาก Facebook Fanpage: Minimal Record

 

Minimal Record: ค่ายเพลงอินดี้ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์ข้ามพรมแดน

สุเมธ ยอดแก้ว เจ้าของค่ายเพลง เล่าว่า Minimal Record ตอนแรกตั้งขึ้น คือ เพื่อสนับสนุนศิลปินเชียงใหม่  ตามกำลังที่เขาจะสามารถทำได้ไม่ใช่กับศิลปินทุกคน แต่ศิลปินที่ชื่นชอบที่มองแล้วมีคาแร็กเตอร์ ที่รู้สึกว่าควรเป็นที่รู้จักมากว่านี้ จึงให้การสนับสนุน ศิลปินเหล่านั้น โดยแนวทางในการสนับสนุนศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ ก็ครอบคลุมเรื่องของโซเชียลมีเดีย เครือข่าย หรือคอนเนคชั่นกับโปรโมเตอร์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนในฝั่งของการหางานจ้างให้กับศิลปิน ด้านโปรดักชั่นก็มีห้องอัด มีงบประมาณให้ในการผลิตผลงานเพลง รวมไปถึงตัวมิวสิควิดีโอ

 

แล้วเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าติดตาม (โชเชียลมีเดีย) ของเราก็จะเห็น อีพีแรกเป็นเรื่องวงดนตรี ของเราที่มีความ individual (ปัจเจกเอกลักษณ์) สูง ความดิบความซ่าของเพลง หลังจากเมื่อมีคนรู้จักเรามากขึ้น ก็มีการปรับเปลี่ยน เราต้องอยู่รอด ดิบซ่าไม่พอต้องขายได้ด้วย คือเป็นที่รู้จัก และสามารถไปเล่นโชว์ได้ เราก็จะหาวงที่จะขายได้อีกหลายๆ วง หมดอีพีนี้ไปก็พยายามหาวงหน้าใหม่ (New blood) เพิ่ม ให้เข้ากับเทรนด์ดนตรี เป็นเหมือนการรีเซ็ตใหม่

 

เพลงสากลที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษอาจเป็นสิ่งที่ถูกมองว่าเติบโตได้ยากในประเทศไทย โดยเฉพาะกับศิลปินสัญชาติไทย แต่  Minimal Record ไม่ได้คิดแบบนั้น กลับมองว่านี่คือโอกาสใหม่ที่จะส่งเสริมให้ศิลปินในเชียงใหม่ โดยเฉพาะศิลปินในค่ายให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น Minimal Record เอง เปิดรับวัฒนธรรมดนตรีใหม่ ๆ จากศิลปินต่างประเทศ เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของค่าย เช่น THE REASONABILISTS ศิลปินจากประเทศเมียนมาร์ ที่มีผลงานเพลงจัดจ้านสไตล์ Rock และ HOWWHYWHENYOU ศิลปินจากเกาหลีใต้ ที่มีผลงานเพลงสไตล์ POP ใส ๆ ฟังสบาย ๆ ในขณะเดียวกันค่ายเองก็ไม่ได้ลืมที่จะผลักดันศิลปินภายในค่ายท่านอื่นๆ ให้เป็นที่รู้จักในสายตานานาชาติ เช่น LAWIN ที่มีผลงานเพลง Whare Would You Be เวอร์ชั่นภาษาไทย และเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังส่งศิลปินในค่ายไปแสดงสดที่ต่างประเทศด้วย

 

เชียงใหม่: เมืองแห่งวัฒนธรรมดนตรีผสมผสานในรูปแบบ Glocalization

 

เชียงใหม่คือดินแดนที่เปิดรับทุก ‘วัฒนธรรมดนตรี’ อาจเรียกได้ว่าเชียงใหม่ คือ โลกแห่ง คนดนตรีที่รวมศาสตร์แห่งดนตรีทุกแขนงมาไว้ที่นี่ หากคุณอยากฟังดนตรีสากลฟิวชั่นก็มี Live House ที่รวบรวมทั้งศิลปินในไทยและต่างประเทศเอาไว้ด้วยกันในสถานที่เดียว หากคุณอยากเห็นความแปลกใหม่ก็อาจจะได้เห็นการทำงานร่วมกันของศิลปินเชียงใหม่กับศิลปินชาวต่างชาติ เพราะที่นี่คือ “เชียงใหม่” เมืองที่ไม่เคยหยุดพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีแบบผสมผสาน เมืองที่ผลิตศิลปินมากด้วยฝีมือ และการพัฒนายังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดสิ้นสุด

 

เรื่อง : ณฐภาพ นิธิกรธนกร

เรียบเรียง : วิไลวรรณ แซ่เห่อ

พิสูจน์อักษร : รัตติยากร มติอภิวัฒน์, จิตติญาภรณ์ แสงหาญ

ภาพปก : Envato

บทความนี้เป็นผลงานของนักศึกษากลุ่มวิชาวารสารศาสตร์บูรณาการ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความที่เกี่ยวข้อง
นักทอ : วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงโปว์
  • Culture
นักทอ : วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงโปว์

“สิ่งที่เราไม่อยากให้หายไปจากอมก๋อยก็คือธรรมชาติและวัฒนธรรมของเรา เราควรรักษาสืบต่อให้ลูกหลานต่อไป” ดวงแก้ว – พรชิตา ฟ้าประทานไพร เยาวชนหมู่บ้านกะเบอะดิน กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น

รับมือทุกปัญหา ‘สุนัขจรจัด’ ด้วย ‘พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์’
  • News
รับมือทุกปัญหา ‘สุนัขจรจัด’ ด้วย ‘พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์’

‘สุนัข’ เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมากในประเทศไทย จากปี 2559 ที่ข้อมูลระบุว่ามีสุนัขจรจัดจำนวน 758,446 ตัว แต่เมื่อถึงปี 2562 จำนวนสุนัขจรจัดเพิ่มขึ้นเป็น 2.493 ล้านตัว

Digital Crafts เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในงานฝีมือ
  • Art & Design
Digital Crafts เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในงานฝีมือ

เมื่อ ‘คราฟต์’ หมายถึง งานฝีมืออันเป็นรูปธรรมที่เกิดจากทักษะการใช้มือและเครื่องมือพื้นฐานแล้ว หากเครื่องมือนั้นไม่ใช่สิ่วหรือค้อนเหมือนเคย แต่เป็นเครื่องมือจากเทคโนโลยีดิจิทัล งานเหล่านั้นจะถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานคราฟต์ได้หรือไม่ ?

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK