เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) จัดงานเปิดตัว “โครงการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกเพื่อสนับสนุนระบบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย (ระยะที่ 2)” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกิจกรรมบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในประเทศไทย ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจำ กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ ต่อด้วยการบรรยายในหัวข้อ “การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ : สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต” โดย นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก๊าซเรือนกระจกว่า ถูกปล่อยออกมาจาก 4 แหล่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์/บริการ องค์กร อีเว้นท์ และบุคคล
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของการพัฒนากำลังคนด้านคาร์บอนของประเทศ” โดย รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ประธานผู้ประสานงานคลัสเตอร์ด้าน Net Zero บพค. และผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการบรรยายในหัวข้อ “รายละเอียดการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกเพื่อสนับสนุนระบบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย (ระยะที่ 2) โดย รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับการจัดโครงการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกเพื่อสนับสนุนระบบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย (ระยะที่ 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีที่ปรึกษาสำหรับขอเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ขึ้นทำเนียบกับ อบก. มากขึ้น อีกทั้งเพื่อให้เกิดการขยายองค์ความรู้ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปสู่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการได้รวดเร็วและทั่วถึงผ่านที่ปรึกษาด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินภายนอกสำหรับการขอเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้มีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามคุณสมบัติของผู้ประเมินภายนอก และเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ประเมินภายนอกสำหรับการขอเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ส่วนกิจกรรมหลังจากนี้ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะจัดอบรมฟรีทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) สำหรับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเป็นที่ปรึกษาด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตั้งแต่วันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2568 2.การอบรมเชิงลึกการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) ตั้งแต่วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2568 และ 3.การอบรมเชิงลึกการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) ตั้งแต่วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
คนเราจะมีวันพรุ่งนี้ได้อีกกี่วัน? หากชีวิตเป็นสิ่งชั่วคราว ไม่ได้ยืนยาวเหมือนรัฐบาลลุงตู่ วูบวาบเพียงชั่วครู่ไม่ได้เลิศหรูเหมือนในนิยาย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปุบปับแล้วดับสูญไป ไม่ทันได้เตรียมใจ ความตายก็มาพรากจากเรา
การออก ‘ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565’ ที่กำหนดให้ทุกส่วนของ ‘กัญชา’ ไม่ถือว่าเป็นยาเสพติด และสารสกัดกัญชาที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol : THC) จำนวนไม่เกิน 0.2% ก็ไม่ถือเป็นยาเสพติด ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดพ.ศ. 2564 แล้ว ยังถือเป็นการ ‘ปลดล็อค’ ที่ส่งผลให้การใช้กัญชาในประเทศไทยสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด
เวลาที่คนเราประสบปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตจนทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ ไม่สบายกายสบายใจ แน่นอนว่าการจะแก้ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ย่อมเริ่มจากการหาที่มาของปัญหาให้เจอแล้วพยายามหาทางแก้ไข แต่บางครั้งการ ‘หาที่พึ่ง’ ไม่ว่าจะทางใดก็ก็ตาม ก็เปฌนอีกวิธีที่ผู้คนเลือกใช้เพื่อบรรเทาความทุกข์และสร้างความหวังให้กับทั้งตนเองและบุคคลรอบข้าง